บทความ 10วิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ 10วิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ รายละเอียดบทความ วันที่โพส : 14/8/2012 จำนวนคนเข้าชม : 4740 10วิธีดูแลผู้ป่วยแผลกดทับ การนอนพักรักษาที่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ไม่ควรนอนท่าหนึ่งท่าใดนานๆ เพราะจะเกิดแผลที่เรียกว่า "แผลกดทับ" ได้ นอกจากนี้ แผลกดทับยังเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บสาหัส คนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ตลอดจนคนที่สูญเสียการรับรู้ความรู้สึก โดยเฉพาะในผู้ที่สูงอายุมากๆ ที่มีปัญหาในเรื่องสมองหรือป่วยเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ถึงแม้การเกิดแผลกดทับจะสร้างความยากลำบากให้แก่ผู้ป่วย แต่แผลกดทับเป็นสิ่งที่ป้องกันได้ และการป้องกันก็ทำได้ง่ายกว่าการรักษาอย่างมาก เกร็ดสุขภาพมี 10 วิธีการดูแลและป้องกันแผลกดทับมาแนะนำ ดังนี้ค่ะ 1.ผู้ดูแลผู้ป่วยแผลกดทับควรสวมถุงมืออนามัย ที่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคมาแล้วทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อแบคทีเรียมาสู่แผลด้วย 2.ควรเปลี่ยนท่านอนทุกๆ 2 ชั่วโมง โดยเฉพาะในรายที่ผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ โดยจัดให้ตะแคงซ้าย ตะแคงขวา นอนหงาย นอนคว่ำกึ่งตะแคง สลับกันไปตามความเหมาะสม เพื่อลดแรงกดดันที่ผิวหนัง ไม่ให้ผิวสัมผัสต้องจม และเสียดสีอยู่กับที่ใดที่หนึ่งนานๆ 3.ควรใช้หมอนหรือผ้านุ่มๆรองบริเวณที่กดทับ หรือปุ่มกระดูกยื่น เพื่อป้องกันการเสียดสีและลดแรงกดทับ แต่ไม่ควรใช้ที่รองนั่งรูปแบบห่วงยาง เพราะจะไปลดการไหลเวียนของเลือดบริเวณผิวหนังในส่วนที่ถัดออกมาจากตรงกลางของห่วง เวลาคนนั่งจมลงไปกลางห่วง 4.ดูแลที่นอน ผ้าปูที่นอน และเครื่องนอนต่างๆ ให้สะอาด แห้ง เรียบตึงอยู่เสมอ 5.ควรใช้ที่นอนที่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น ที่นอนลม ที่นอนน้ำ ที่นอนฟองน้ำ หรือที่นอนที่บุด้วยเนื้อเจล ซึ่งช่วยลดแรงต้านเมื่อมีแรงกดทับจากการนอนหรือนั่ง 6.ควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่นอนที่การระบายอากาศไม่ดี เช่น ที่นอนหุ้มพลาสติก 7.ควรยกหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยความระมัดระวัง โดยมีผ้ารองยกและใช้การยกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เพื่อป้องกันการเสียดสี 8.ดูแลผิวหนังผู้ป่วยให้สะอาด แห้งไม่อับชื้น เพราะถ้าผิวหนังเปียกชื้นหรือร้อนจะทำให้เกิดแผลเปื่อย ผิวหนังถลอกง่าย โดยเฉพาะภายหลังที่ผู้ป่วยถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะแล้ว ต้องทำความสะอาดแล้วซับให้แห้ง 9.หากสังเกตพบว่าผู้ป่วยมีผิวหนังแห้งแตกเป็นขุย ควรดูแลทาครีมหรือโลชั่นทาผิวหนัง ดูแลให้ผู้ป่วยออกกำลังกายตามความเหมาะสม เพื่อให้กล้ามเนื้อ หลอดเลือด และผิวหนังแข็งแรง มีการไหลเวียนของโลหิตดี 10.ดูแลให้อาหารผู้ป่วยอย่างเพียงพอ คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนจำเป็นอย่างมากต่อผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ เพราะผู้ป่วยจะสูญเสียโปรตีนไปทางแผลจำนวนมาก นอกจากนี้ต้องดื่มน้ำเปล่าเยอะๆ บ่อยๆ เพื่อช่วยให้แผลเยียวยาตัวเองได้ดียิ่งขึ้น หากเป็นรอยแดงๆ ไม่ยอมหายไปสักที แม้จะทำตามวิธีป้องกันแล้วก็ตาม หรือผู้ที่เป็นแผลเกิดมีไข้ แผลเป็นสีแดงเข้มขึ้น เกิดหนองไหลออกมาจากแผล มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ มีอาการบวม หรือเจ็บปวดมากขึ้น อย่างหนึ่งอย่างใดเหล่านี้ ให้รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจเป็นอาการของการติดเชื้อที่แผลได้แต่ทางที่ดี ควรป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับ ย่อมดีกว่าที่ต้องมาเยียวยารักษาเป็นแน่แท้ค่ะ แหล่งข้อมูลอ้างอิง : www.cheewajit.com ถูกใจบทความนี้ ช่วยกดไลค์หรือแชร์กันหน่อยนะ... เรื่องน่าสนใจอื่น ๆ โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) 3/8/2012 view time : 1844 โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome (CTS) ปวดเข่า 7/12/2017 view time : 667 ปวดเข่า คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย อาการปวดเข่าพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่มักมีกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังขาและเข่ามาก ปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลา Herniated disc (or herniated disk)/ Bulging disc/Slipped dis 3/8/2012 view time : 2361 Herniated disc กายภาพบำบัด 21/8/2012 view time : 4317 กายภาพง่ายๆ เพื่อคลายปวด ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้