ดูสินค้าทั้งหมด
เมนู สินค้า
ค้นหา
สมาชิก
0
ตะกร้าสินค้า
Notice
  • Login
  • สมัครสมาชิก
  • ลืม password
  • Thai
อุดรอุปกรณ์การแพทย์/อยู่ดีคลินิก
สถิติเว็บ
วันที่สร้างเว็บ :27/5/2012
ปรับปรุงเว็บล่าสุด :22/3/2025
จำนวนคนเข้าชมเว็บนี้ :3073705
สินค้า

Herniated disc (or herniated disk)/ Bulging disc/Slipped dis

 รายละเอียดบทความ  วันที่โพส : 3/8/2012  จำนวนคนเข้าชม : 2361


Herniated disc (or herniated disk)/ Bulging disc/Slipped disc /Disc protrusion

ศัพท์ทั้งหมดนี้หมายถึงการเคลื่อน เลื่อน ทะลัก ปลิ้น แลบ ฯลฯของหมอนรองกระดูกทั้งสิ้น แล้วแต่ใครจะใช้คำใดสื่อให้เห็นภาพ เช่น คำว่า hernia มักใช้กับการทะลักหรือถูกดันออกมาใช้กับอวัยวะภายใน ที่รู้จักกันดี ก็เช่นไส้เลื่อน(Hernia) หรือไส้เลื่อนที่สะดือเรียกเป็นภาษาการแพทย์ว่าumbilical hernia

 

แต่คำว่า bulging อาจ สื่อถึงการปลิ้นของหมอนรองกระดูกในภาวะที่ไม่มีการกดทับของเส้นประสาท และยังไม่มีอาการใด ๆ หรือ ในภาวะที่เกิดการกดทับเส้นประสาทและมีอาการปวดแล้วก็ได้ ลักษณะของ bulging มักหมายถึงการที่หมอนรองกระดูก (disc/disk) เคลื่อนตัวออกมา โดยสภาพของคอลลาเจนไฟเบอร์ (AnulusFibrosus)หรือ เยื่อหุ้มโดยรอบ Nucleus Pulposus (ก้อนนิวเคลียสที่อยู่ใจกลางของหมอนรองกระดูกมีส่วนประกอบของน้ำมาก และล้อมด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลายชั้น (anulus fibrosus)ก้อนนิวเคลียสนี้ช่วยทำให้หมอนรองกระดูกทำหน้าที่ได้ดีในการกระจายแรงกระแทกคล้ายกับตัวสปริงหรือ โช๊คทำให้หมอนรองกระดูกรับน้ำหนักและยืดหยุ่นได้ดีเมื่อได้รับแรงกระทำ)ยังไม่เกิดความเสียหายหรือยังไม่เกิดการฉีกขาด ส่วนอีกคำยอดฮิตก็คือHNP (Herniate Nucleus Pulposus) ก็คือการทะลักออกมาของตัว นิวเคลียสซึ่งอาจจะไหลออกมากดทับเส้นประสาท หรืออยู่ในระหว่างชั้นของanulus fibrosusก็ได้ (มีระบบการเรียกระดับความรุนแรงที่เป็นสากล)

 

ทั้งนี้คำศัพท์พวกนี้มักถูกใช้ปน ๆกันเสมอแม้ว่าระดับความรุนแรงของแต่ละคำดูจะต่างกันอยู่ดังนั้นการที่จะทราบระดับความรุนแรงของอาการจริง ๆทีมแพทย์และผู้บำบัดต้องทราบถึงคำจำกัดความของความเสียหายในแต่ละระดับเมื่ออ้างถึงหรือต้องมีคำมาชี้ชัดลงไปอีก เช่น total disc protusion / complete disk herniated -หมอนรองกระดูกทั้งอันเคลื่อนตัวออกระหว่างกระดูกสันหลังสองระดับ/ symmetrical disc bulging – เคลื่อนออกมาเสมอกันสองข้างซ้ายขวา ในระดับเดียวกัน/asymetrical disc bulging- เคลื่อนออกมาด้านใดด้านหนึ่ง ทั้งนี้การเรียกชื่อมักเป็นไปตามระบบการเรียกที่เป็นสากล หรือตามที่ตกลงกันในกลุ่มแพทย์และผู้บำบัด

 

อาการที่มักพบเมื่อหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมากดทับเส้นประสาทที่ลอดออกจากกระดูกสันหลัง คืออาการปวดที่หลัง หรือไม่ปวดที่หลังแต่ปวดที่ขาในจุดที่ตอบสนองต่อเส้นประสาทระดับนั้น ๆ อาจปวดหลังและร้าวลงขาอาการอ่อนแรงของขาด้านเดียวหรือสองด้าน อาการที่แสดงจะแตกต่างกันตามระดับและลักษณะของการกดทับตำแหน่งที่พบบ่อยคือ L4-5 (ส่วนใหญ่พบมีอาการปวดบริเวณหลัง เท้า อาจมีอาการอ่อนแรงของเท้า กระดกข้อเท้าไม่ขึ้น), L5-S1 (ปวดขาด้านหลังและมีอาการปวดร้าวลงบริเวณตาตุ่มด้านนอกของเท้า)มักเกิดกับวัยทำงาน ตั้งแต่ช่วง 18-30 กว่าๆ มากกว่าในผู้สูงอายุ เพราะ สภาพของหมอนรองกระดูกมีความยืดหยุ่นและเคลื่อนตัวได้ดีกว่าของผู้สูงวัย ซึ่งสูญเสียส่วนประกอบของน้ำไปทำให้ไม่ค่อยเกิดการเคลื่อนตัวแต่มักเกิดการ ตีบแคบหรือยุบตัวได้มากกว่า

 

 

สาเหตุมักเกิดจากการได้รับแรงกระทำสั่งสมเป็นเวลานาน เช่น การนอน การนั่งในท่าที่ไม่ถูกต้องนาน ๆ งานที่ทำต้องก้ม เงย ติดต่อกันเป็นเวลานาน และต้องยกของซึ่งหนักตั้งแต่ 5-10 กิโลขึ้นไป การยกในท่าที่ไม่ถูกต้องการบิดหลังบ่อย ๆ ทำให้เกิดแรงดันปริมาณมากใน Nucleus และ แรงดันกระจายออกไปสู่เนื้อเยื่อโดยรอบ เมื่อมีแรงดันเกิดขึ้นบ่อย ๆ หรือ มาก ๆ ก็ทำให้เนื้อเยื่อโดยรอบ ค่อย ๆ ยืดและฉีกขาดในที่สุด ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของ นิวเคลียสออกไปทำเส้นประสาท (HNP) เมื่อเนื้อเยื่อดังกล่าวขาดหมด

การ เคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกสามารถเกิดได้ฉับพลันเมื่อมีแรงกระทำที่มากพอ เช่นแรงกระแทกผ่านทางช่องท้อง แรงกระแทกจากการที่กระดูกสันหลังแตกหักหรือถูกกดอัดในแนวดิ่ง(การกระโดด ตกจากที่สูง) หรือแนวเฉียง จากการถูกกระฉากหรือเอี้ยวตัวแรง ๆ การไอหรือจามแรง ๆในขณะก้มตัว หรือนั่งยอง ๆ ก็ทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนตัวได้เช่นกัน

 

ความรุนแรงของ อาการขึ้นอยู่กับสภาพของหมอนรองกระดูกว่าเคลื่อนออกมากดเส้นประสาทระดับใด เคลื่อนออกมามากแค่ไหน นานเท่าใด และหมอนรองกระดูกอยู่ในสภาพดีอยู่หรือไม่ผู้ป่วยบางรายได้รับอุบัติเหตุรุนแรงทำให้หมอนรองกระดูกซึ่งมีลักษณะคล้ายก้อนเยลลี่หรือซิลิโคนที่มีความยืดหยุ่นสูง เกิดการฉีกขาด และมีNucleus Pulposus ทะลักออกมา และไปกดทับเส้นประสาท แพทย์มักต้องผ่าตัดเอาออกและใส่หมอนรองกระดูกเทียมบางรายหมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมาน้อยหรือได้รับความเสียหายน้อย  ก็สามารถรักษาโดยวิธีทางกายภาพบำบัดได้ไม่ต้องผ่าตัด

**สามารถหาความรู้เพิ่มเติมและดูรูปภาพได้จาก website ต่าง ๆ โดยใส่คำว่า Herniate Disk/disc, Bulging Disc**

 

  เขียนโดย นุชนันท์ วรรณโกวิท

ถูกใจบทความนี้ ช่วยกดไลค์หรือแชร์กันหน่อยนะ...
เรื่องน่าสนใจอื่น ๆ
การบริหารกล้ามเนื้อคอ
การบริหารกล้ามเนื้อคอ
3/8/2012    view time : 1100
Neck Exercise
ปวดเข่า
ปวดเข่า
7/12/2017    view time : 666
ปวดเข่า คืออาการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณข้อต่อซึ่งเชื่อมระหว่างกระดูกต้นขาและกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้รองรับน้ำหนักของร่างกาย อาการปวดเข่าพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่มักมีกลุ่มเสี่ยงเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน และนักกีฬาที่ต้องใช้กำลังขาและเข่ามาก ปวดเข่าเกิดขึ้นได้จากหลา
อาการปวดหลังเรื้อรังที่เกิดจาก โรคข้ออักเสบต่างๆ
อาการปวดหลังเรื้อรังที่เกิดจาก โรคข้ออักเสบต่างๆ
8/8/2012    view time : 1044
อาการปวดหลังเรื้อรังที่เกิดจาก โรคข้ออักเสบต่างๆ
(โรคของเส้นประสาทที่มีอาการชา)
(โรคของเส้นประสาทที่มีอาการชา)
3/8/2012    view time : 3352
โรคของเส้นประสาทที่มีอาการชา
ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทความนี้
Save Progress..